วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คลิปการแข่งขันวอลเล่ย์บอล


วอลเล่ย์บอลหญิง ระหว่าง ไทย VS จีน


การสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล


การเล่นกีฬาทุกชนิด ก่อนการฝึกทักษะผู้เล่นจะต้องได้รู้จักหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ หรือวัสดุฝึกของกีฬาชนิดนั้นก่อน กีฬาวอลเลย์บอลก่อนการฝึกก็จะมีกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล ซึ่งมีผู้กล่าวถึงการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลไว้ ดังนี้
การกีฬาแห่งประเทศไทย (2538 : 21) กล่าวไว้ว่า ผู้เล่นควรจะคุ้นเคยกับ
ลูกวอลเลย์บอลเพื่อฝึกประสาทและร่างกายส่วนที่จะใช้สัมผัสกับลูกบอลให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกบอลอยู่ในลักษณะอย่างไรก็สามารถเคลื่อนที่ไปเล่นลูกบอลได้และสามารถใช้มือบังคับลูกบอลนั้นให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ และคณะ (2546 : 80) กล่าวไว้ว่า การฝึกความคุ้นเคยกับลูกบอลนั้น เป็นการฝึกประสาทตา และร่างกายส่วนที่ใช้สัมผัสกับลูกบอล จังหวะระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทางการเล่น กลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นของลูกบอล
กรมพลศึกษา (2544:30) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล เป็นการปูพื้นฐานให้ร่างกายมีความพร้อม รู้จักจังหวะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้า รับลูกบอล จุดตกของลูกบอล การคุ้นเคยกับน้ำหนักของลูกบอล การโยน ขว้าง รับ ส่ง เล่นลูกสองมือล่าง การเซตลูก สามารถกะระยะของลูกบอลได้ ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอล เพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อสายตา ความคล่องตัวในการเคลื่อนที่
ปัญจะ จิตรโสภี (2526 : 30-31) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับ ลูกวอลเลย์บอล เป็นการฝึกหัดให้เกิดความคุ้นเคยและเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกหัดทักษะพื้นฐานต่อไปความมุ่งหวังให้เกิดความคุ้นเคยความสัมพันธ์ของกลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นตัวของลูกบอล ความสัมพันธ์ของประสาท สายตา และกล้ามเนื้อของร่างกายที่ใช้สัมผัสเล่นลูกบอล จังหวะ ระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทาง การเล่น การเคลื่อนที่ไปยังจุดที่ลูกบอลจะตก ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอลเพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้

สรุป
การสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลเป็นทักษะเบื้องต้นที่สำคัญทำให้ผู้เล่นมีความพร้อมที่จะเล่น เป็นการฝึกความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อประสาท และสายตา กลไกการเคลื่อนไหว ปฏิกิริยาการตอบสนอง การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก ความหยุ่นตัวของลูกบอล รู้จักจังหวะระยะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้าเล่นลูกบอล จุดตกของลูกบอล การเคลื่อนที่เข้าไปเล่นลูกบอล การสัมผัสกับลูกบอล ระยะการออกแรงกระทบลูกบอลหรือการส่งลูกบอลไปยังทิศทางต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

การสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอลคนเดียว

1. หมุนลูกบอลรอบขาเป็นรูปเลข 8



                          
                                       


2. กระโดดส่งลูกบอลใส่มือ

                                    

                                        



3. กลิ้งลูกบอลเหยียดขาตึง

                                   

                                  


4. เข่าหนีบลูกบอลกระโดด

                                                 

                         

5. ก้มตัวส่งลูกบอลลอดขา

                               





การตบลูกบอล

1. ความหมายของการตบลูกบอล
2. ความสำคัญของการตบลูกบอล
3. หลักสำคัญของการตบลูกบอล
3.1 ท่าเตรียม
3.2 การวิ่ง
3.3 การกระโดด
3.4 การเหวี่ยงแขน
3.5 การลงสู่พื้น
4. ปัญหาการตบลูกบอลและวิธีแก้ไข
5. กติกาการรุก
การตบลูกบอล (Spiking)
1. ความหมายของการตบลูกบอล (Spiking)
การตบลูกวอลเลย์บอล มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ ดังนี้
ศรีเกษม อุ่นประดิษฐ์ และคณะ (2532 : 64) ได้กล่าวถึง การตบลูกบอล หมายถึง การที่ผู้เล่นกระโดดให้สูงที่สุดบริเวณเหนือตาข่าย แล้วตบหรือตีลูกบอลอย่างแรง เพื่อให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายตรงข้าม
กรมพลศึกษา (2535 : 65) ได้กล่าวการตบลูกบอล หมายถึง วิธีการรุกที่รุนแรง และมีประสิทธิภาพสูงอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการตบจะเป็นการใช้ฝ่ามือตบลูกบอลในลักษณะของการ แบมือ
นัยนา บุพพวงษ์ (2540 : 153) ได้กล่าวถึงการตบลูกบอล หมายถึง การรุกที่รุนแรง กระทำได้ทั้งผู้เล่นที่อยู่แดนหน้าและแดนหลัง โดยจะกระโดดหรือไม่กระโดดก็ได้ ใช้ฝ่ามือตี ลูกบอลให้ข้ามตาข่าย หรือเหนือผู้สกัดกั้นพยายามให้ไปลงฝ่ายตรงข้าม และยิ่งถ้าผู้เล่นวิ่งและกระโดดตีลูกบอลด้วยแล้วจะทำให้การตบลูกบอลรุนแรง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น


สรุป 
การตบนับเป็นทักษะการรุกที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับกีฬาวอลเลย์บอล เพราะการตบเป็นการรุกที่มีความรุนแรง และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม การตบนับเป็นสีสันของการสร้างเกมรุก ทำให้การแข่งขันมีความสนุกสนานตื่นเต้นน่าสนใจ ปัจจุบันยุทธวิธีการตบมีหลากหลายรูปแบบที่จะใช้โจมตีหรือหลอกล่อการสกัดกั้นฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ทีมได้เปรียบ หรือได้คะแนนจากการตบ ทีมใดมีตัวตบที่ดีมีประสิทธิภาพ มักจะได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน
2. ความสำคัญของการตบลูกบอล
ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมีองค์ประกอบหลายอย่างทำให้ทีมประสบผล สำเร็จในการแข่งขัน การตบนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้ทีมได้รับชัยชนะ เพราะการตบเป็นการรุกที่รุนแรง และสามารถทำคะแนนได้เป็นอย่างดี
กรพลศึกษา (2532 : 28) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการตบลูกบอลไว้ว่า การตบเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง ความตื่นเต้นและความสนุกสนานของการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลอยู่ที่การตบลูกบอล และการแพ้ –ชนะ ย่อมอาศัยการตบเป็นหลักสำคัญ
อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 33) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการตบลูกบอลไว้ว่า
การตบเป็นวิธีการรุกที่ดีที่สุดของฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอล ลูกตบที่มีพลังและมีจุดมุ่งหมายตามยุทธวิธี จะสามารถทำให้ฝ่ายตรงข้ามยากแก่การตั้งรับ และตอบโต้ จึงทำให้ฝ่ายเราได้คะแนนหรือได้เสิร์ฟอย่างง่าย ๆ


สรุป
การตบลูกบอลถือว่าเป็นการรุกที่ดี ทีมที่มีตัวตบที่ดีมีความหนักหน่วงรุนแรงและ มีประสิทธิภาพ จะสามารถทำให้ทีมชนะหรือประสบผลสำเร็จในการแข่งขันได้ง่ายขึ้น
3. หลักสำคัญของการตบลูกบอล
อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 44-48) ได้กล่าวถึงหลักสำคัญของการตบ ดังนี้
การตบลูกบอลเป็นวิธีการรุกที่รุนแรงของฝ่ายที่ครอบครองลูกบอล ลูกตบที่ประสบผลสำเร็จต้องมาจากลูกจังหวะแรก และจังหวะที่สองที่สัมพันธ์กัน อานุภาพของลูกตบยังขึ้นอยู่กับความแรงของลูก รวมทั้งความเร็วความคล่องตัวและท่าทางที่ใช้ตบลูกของผู้เล่น การตบลูกบอลจึงมีเทคนิคและวิธีการค่อนข้างสลับซับซ้อนหลายขั้นตอนที่ผสมผสานต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปจะมีหลักการที่ สำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
3.1 ท่าเตรียม
ท่าทางการเตรียมพร้อมที่จะตบลูกบอล โดยยืนแยกเท้าทั้งสองออกตามธรรมชาติงอเข่าทั้งสองเล็กน้อย โล้ตัวไปข้างหน้าพอสมควร ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลาเตรียมพร้อมที่จะวิ่งไปยังทิศทางต่าง ๆ

การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอล

  ตามปกติฝ่ายรับมักจะพบปัญหาการรับลูกที่ฝ่ายรุกตบลูกลงในเขตสนามที่เป็นช่องว่าง     ลูกบอลที่ข้ามตาข่ายจะพุ่งมาแรงและรวดเร็ว  ซึ่งกว่าผู้เล่นจะเคลื่อนตัวไปถึงลูกบอลก็มักจะตกลงต่ำจนเกือบถึงพื้นแล้ว  การเข้ารับลูกบอลที่ต่ำและห่างตัวผู้เล่นจึงมักจะใช้การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลการพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลทำได้   2  ลักษณะ คือ
1.  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลสองมือ   ใช้ในโอกาสที่ลูกมาต่ำและไม่ไกลตัวผู้รับมากนัก  การพุ่งตัวไปรับจึงไม่ต้องม้วนตัวตาม  ส่วนมากปล่อยให้หน้าอกไถลไปกับพื้น   หลักการพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลสองมือ  โดยผู้เล่นยืนในลักษณะท่าเตรียมพร้อม  โล้ตัวไปตามทิศทางที่ลูกบอลมาพร้อมกับเหวี่ยงแขนไปข้างหลัง  แล้วถีบเท้าพุ่งตัวไปหาลูกบอล พร้อมกับเหวี่ยงแขนมาข้างหน้า  แขนทั้งสองเหยียดตรง  มือทั้งสองจับกันเพื่อรับลูกบอล 


         
   ที่มา :  http://www. fivb.org/Photos/VB/Gallery/WorldLeague2004/Match010/Screen/0..
                                  สืบค้นเมื่อวันที่  8   มีนาคม  2548


2.  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลมือเดียว  ใช้ในโอกาสที่ลูกมาต่ำและไกลตัวผู้รับมาก  ซึ่งถ้าใช้วิธีพุ่งตัวรับด้วยสองมือก็คงไม่ถึงลูกบอล  การพุ่งตัวเข้ารับลูกด้วยมือเดียว  ประสิทธิภาพการรับจะไม่แน่นอนหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญเพียงพอ  แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเสียไปโดยไม่พยายามรับลูกเลย  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลมือเดียวมีหลักการเช่นเดียวกับการพุ่งตัวเข้ารับลูกด้วยสองมือ


     
   ที่มา :  http://www. fivb.org/Photos/VB/Gallery/WorldLeague2004/Match010/Screen/0..
                                  สืบค้นเมื่อวันที่  8   มีนาคม  2548

การเคลื่อนที่เพื่อเล่นลูกบอล


                              2.1   ลักษณะการเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่เพื่อเล่นลูกบอลเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของผู้เล่นที่จะเคลื่อนที่ไป
รับลูกบอลหรือแม้กระทั่งในการตบลูกบอล  คนส่วนมากคิดว่าผู้เล่นที่วิ่งเร็วจะเคลื่อนที่ได้เร็ว แต่ความจริงแล้วการเล่นวอลเลย์บอลคนที่วิ่งเร็วอาจจะเคลื่อนที่ได้ช้าก็ได้  เพราะขณะที่เล่นบางครั้ง 
ลูกบอลพุ่งมาเร็วบางครั้งก็ช้า จุดที่ลูกบอลตกก็ไม่แน่นอน การเคลื่อนที่ไปรับลูกบอล บางครั้งก็วิ่งไปข้างหน้า บางครั้งก็ถอยหลัง บางครั้งก็ไปทางข้าง ๆ ตัว
ลักษณะการเคลื่อนที่เพื่อเล่นลูกบอล  มีดังนี้
การเคลื่อนที่ไปด้านหน้า  ประกอบด้วยการก้าวเท้า  การวิ่ง  การพุ่งตัว  การสไลด์ตัวไปกับพื้น
การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง  ประกอบด้วยการก้าวเท้าไปด้านข้าง  การก้าวไขว้เท้า การสไลด์เท้า  การพุ่งตัวไปด้านข้างเข้าหาลูกบอลและการม้วนตัว
การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง  ประกอบด้วยการก้าวถอยหลัง  การสไลด์เท้า  การหมุนตัว กลับแล้วพุ่งเข้าหาลูก
                  2.2    สิ่งสำคัญในการเคลื่อนที่   
สิ่งสำคัญที่มีผลต่อความเร็วในการเคลื่อนที่มีดังนี้
(1)  ความเร็วในการตัดสินใจ
(2)  ความสามารถในการถ่ายน้ำหนักตัว
(3)  ความถี่ของการก้าวเท้า
(4)  ความแข็งแรงของข้อเท้าและข้อเข่า
(5)  ความชำนาญในการฝึกซ้อม
                  2.2.1   ความเร็วในการตัดสินใจ
ความเร็วในการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการเคลื่อนที่ เพราะเป็นความสามารถของโสตประสาท  ผู้เล่นบางคนสามารถเคลื่อนที่รับลูกตบจากฝ่ายตรงกันข้ามได้ทันที     บางคนลูกตกทางหนึ่งแต่กลับวิ่งไปอีกทางหนึ่ง จึงควรฝึกมาก ๆ และควรฝึกในตอนต้นชั่วโมงของการฝึก
                  2.2.2  ความสามารถในการถ่ายน้ำหนักตัว
การถ่ายน้ำหนักตัวได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับท่ายืนเตรียมพร้อมที่ดีด้วย การยืนขยับเท้าตลอดเวลาจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าการยืนด้วยเท้านิ่ง ๆ ก่อนที่จะถ่ายน้ำหนักตัวไปยังทิศทางใด
ทิศทางหนึ่งจะต้องยืนให้น้ำหนักตัวตกอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าทั้งสองตลอดเวลา  ความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายน้ำหนักตัวซึ่งมี  2  ลักษณะคือ
(1)    การถ่ายน้ำหนักตัวไปในทิศทางตรงข้าม
การถ่ายน้ำหนักตัวไปในทิศทางตรงข้าม เริ่มต้นด้วยท่ายืนเตรียมพร้อม น้ำหนักตัว      อยู่กลางระหว่างเท้าทั้งสองตลอดเวลาถ้าจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมือให้ถ่ายน้ำหนักตัวมาทางขวาก่อน  โดยให้น้ำหนักตัวทั้งหมดตกอยู่ที่เท้าขวา  จะได้มีแรงถีบตัวที่จะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แล้วจึงก้าวเท้าซ้ายนำออกไป
(2)   ไม่มีการถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
การเคลื่อนที่โดยไม่มีการถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นลักษณะการเคลื่อนที่อีกแบบหนึ่ง  ถ้าจะเคลื่อนที่ไปทางไหนก็ให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้านั้นแล้วก้าวอีกเท้าหนึ่งไป เช่น        จะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมือ ก็ให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าซ้ายทั้งหมด แล้วก้าวเท้าขวานำออกไป
                  2.2.3   ความถี่ของการก้าวเท้า
การก้าวเท้าที่มีความถี่สูงย่อมเคลื่อนที่ได้เร็ว  จึงจำเป็นต้องฝึกมาก ๆ เช่น  การวิ่งสลับเท้าเร็ว ๆ อยู่กับที่  หรือการวิ่ง  การสไลด์เท้า  การไขว้เท้าระยะทางใกล้ ๆ แต่ต้องเคลื่อนที่เร็ว ๆ  ซึ่งก้าวแรกของเท้าต้องก้าวสั้น ๆ เพราะถ้าก้าวแรกยาวจะให้น้ำหนักตัวมาข้างหลังจึงเคลื่อนที่ได้ช้า  แต่ถ้าก้าวแรกสั้นการถ่ายน้ำหนักตัวจะไปข้างหน้า จึงทำให้การเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า
                  2.2.4   ความแข็งแรงของข้อเท้าและข้อเข่า
ความแข็งแรงของข้อเท้าและข้อเข่าขึ้นอยู่กับแรงถีบ  ถ้าขาหลังมีแรงถีบมากจะเคลื่อนที่ได้เร็ว  จึงควรฝึกโดยการวิ่งยกเข่าสูงและก้าวยาว ๆ
2.2.5  ความชำนาญในการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมมาก ๆ ในการก้าวเท้าจนเกิดความชำนาญทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว การฝึกก้าวเท้าต้องฝึกหลาย ๆ แบบ เช่น  การวิ่ง  การไขว้เท้า  การสไลด์  การวิ่งโหย่ง ๆ และการก้าวยาว ๆ ถีบตัวให้ไปไกล ๆ เป็นต้น





จุดที่สัมผัสลูกบอล


๑ ก

๑ ข

๑ ค
บริเวณที่ถูกลูกบอลคือ บริเวณท่อนแขนด้านหน้า ทั้งสองแขนพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้น
มาประมาณ ๑๐ ซม. ดังรูปที่ ๑ ก - ๑ ข - ๑ ค




 ก

 ข

 ค
บริเวณที่ถูกลูกบอลคือ บริเวณท่อนแขนด้านหน้า ทั้งสองแขนพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้น
มาประมาณ ๑๐ ซม. ดังรูปที่ ๒ ก -  ข -  ค
๓. การออกแรงเล่นลูกด้วยมือล่าง
ในกรณีที่ลูกบอลที่พุ่งมาไม่แรง การอันเดอร์ลูกต้องเพิ่มแรงยกของแขนขึ้น เพื่อให้เกิดแรงกระทบลูก
และเมื่อลูกบอลพุ่งมาแรงมากให้ออกแรงส่งเพียงเล็กน้อยโดยอาศัยแรงกระดอนจากลูกช่วยในการส่ง
ลูกบอลการที่จะใช้แรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะทางความเร็ว ความแรงของลูกบอลด้วย
ดังรูปที่ ๓.๑ – ๓.๓
                                              
                                               
รูปที่ ๓.๑
รูปที่ ๓.๒
รูปที่ ๓.๓



๑.๑ ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน
      ประมาณ ๑ ช่วงไหล่

๑.๒ ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อย
      ก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า

๑.๓ ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้า
      ทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า

๑.๔ จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง
      ตามองที่ลูกบอล




วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีการเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง

๑. การจับมือเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง
การเล่นลูกบอลด้วยมือล่างต้องคำนึงถึงการจับมือ หรือการให้นิ้วหัวแม่มือชิดกัน มือทั้งสองต้อง
สัมผัสกันแนบแน่น เพื่อให้แขนทั้งสองเสมอกัน ทำให้การควบคุมลูกบอลเป็นไปตามทิศทาง
ที่ต้องการได้ง่าย วิธีที่จะทำให้มือทั้งสองข้างแนบชิดกันมี ๓ ลักษณะ ดังนี้
                                                                 ๑.๑ โดยวิธีซ้อนมือ
                                        เป็นวิธีที่นิยมเล่นกันมาก มีวิธีการจับมือ ดังรูปที่ ๑.๑ ก – ๑.๑ ค                                              
                                                                                   


๑. หงายมือทั้งสองข้าง
๒. เอามือหนึ่งไปวางซ้อนทับ
อีกมือหนึ่ง
๓. รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือ
ชิดติดกัน
รูปที่ ๑.๓ ก
รูปที่ ๑.๓ ข
รูปที่ ๑.๓ ค




                                                 
                                                   ๑.๒ โดยวิธีโอบหมัด   
                                              
มีวิธีการจับมือ ดังรูปที่ ๑.๒ ก – ๑.๒ ข

                                          


๑. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด
๒. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด
นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน
รูปที่ ๑.๒ ก
รูปที่ ๑.๒ ข




๑.๓ โดยวิธีกำมือทั้งสองข้างชิดกัน
มีวิธีการจับมือดังรูปที่ ๑.๓ ก – ๑.๓ ข
                    


๑.กำมือทั้งสองข้าง
๒.นำมือทั้งสองข้างมาชิดกันให้
นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน
รูปที่ ๑.๓ ก
รูปที่ ๑.๓ ข






การพร้อมในการเซตลูก

๓. การยืนเตรียมพร้อมในการเซตลูกบอล
ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันประมาณ ๑ ช่วงไหล่หรือกว้างกว่าเล็กน้อย
จะยืนให้ปลายเท้าทั้งสองเสมอกัน หรือเท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้านำก็ได้
ยกส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่าแขม่วท้อง โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
ปล่อยไหล่ตามสบายไม่เกร็ง ดังรูปที่ ๓.๑ – ๓.๒



รูปที่ ๓.๑
๑. ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันประมาณ
    ๑ ช่วงไหล่หรือกว้างกว่าเล็กน้อย
    จะยืนให้ปลายเท้าทั้งสองเสมอกัน
    หรือเท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้านำได้

รูปที่ ๓.๑
๒. ยกเส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่าแขม่วท้อง
    โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ปล่อย
    ไหล่ตามสบายไม่เกร็ง


๔. การออกแรงเซตลูกบอล
การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลนั้น จะต้องพยายามเคลื่อนที่ไปยังจุดที่ลูกบอลจะตก
และให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผากพร้อมย่อเข่า ยกมือขึ้น
ขณะที่ลูกบอลสัมผัสกับนิ้วมือ แรงที่จะมาเซตลูกบอลจะมาจาก
แรงสปริงของนิ้วพร้อมกับแรงส่งจากข้อศอก รวมทั้ง
การเหยียดแขน และเข่าออกไป
ดังรูปที่ ๔.๑ – ๔.๓



๑. เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอล
    จะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือ
    ศีรษะบริเวณหน้าผาก
๒. ย่อเข่า ยกมือให้จุด
    สัมผัสบอลกับนิ้วมือห่าง
    จากหน้าผาก ๒๐ ซ.ม
๓.สปิงนิ้วมือพร้อมทั้งส่ง
   แรงจากข้อศอกรวมทั้งการ
   เหยียดแขนและเข่าออกไป
รูปที่ ๔.๑
รูปที่ ๔.๒
รูปที่ ๔.๓






การยกมือทั้งสองในการเซต

ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ ๑ กำมือ ( ๑๐ เซนติเมตร )
กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออก
นิ้วงอ เป็นครึ่งวงกลม ปลายนิ้วก้อยอยู่ข้างหน้า ดังรูปที่ ๑.๑ – ๑.๒


๑. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ
๑ กำมือ ( ๑๐ เซนติเมตร )
๒. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูง
กว่าเล็กน้อย กางนิ้วออกนิ้วงอเป็น
ครึ่งวงกลม ปลายนิ้วก้อยอยู่ข้างหน้า





2. ลักษณะนิ้วและจุดสัมผัส



จุดที่นิ้วมือสัมผัสลูกบอลจะอยู่ห่างจากหน้าผากประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
( คือก่อนที่ ลูกบอลจะมาถึงมือ ให้เหยียดแขนขึ้นไปอีก ๑๐ เซนติเมตร )
นิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่รองรับลูกบอล นิ้วนาง และนิ้วก้อย เป็นนิ้วที่ใช้
ควบคุมทิศทางของลูกบอล ส่วนนิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นนิ้วที่ใช้ ออกแรง
ดีดลูกบอล โดยทำงานสัมพันธ์กันกับข้อมือด้วย ดังรูปที่ ๒.๑ – ๒.๒
               
๑. จุดที่นิ้วมือสัมผัสลูกบอลจะอยู่ห่างจาก
หน้าผากประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
( คือก่อนที่ลูกบอลจะมาถึงมือให้
เหยียดแขนขึ้นไปอีก ๑๐ เซนติเมตร )
๒. นิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่รองรับลูกบอล
นิ้วนางเป็นนิ้วที่ใช้ออกแรงและช่วย
ควบคุมทิศทางลูกบอล นิ้วชี้และ
นิ้วกลางเป็นนิ้วที่ช่วยนิ้วนางโดย
ทำงานสัมพันธ์กันกับข้อมือด้วย
รูปที่ ๒.๑
รูปที่ ๒.๒


มารยาทที่ดีของผู้ดูกีฬาวอลเลย์บอล



ผู้ดูกีฬาถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกีฬาทุกประเภท ผู้ดูกีฬาช่วยให้ผู้เล่นมีกำลังใจ ช่วยให้เกมกีฬาต่าง ๆ มีความสนุกสนานมากขึ้น และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการกีฬาให้ก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการไปเชียร์เพื่อให้กำลังใจทีมของตน หรือไปดูเพื่อความเพลิดเพลินของตนและหมู่คณะ ผู้ดูที่ดีก็ควรจะต้องปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เพราะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะส่งผลเสียต่อตนเอง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ดูกีฬาคนอื่น ยังทำให้เสียอรรถรสในการชมกีฬาของทั้งตนเองและผู้อื่นอีกด้วย โดยมารยาทที่ดีที่ผู้ดูกีฬาวอลเลย์บอลควรมี ได้แก่
1. นั่งชมกีฬาด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยืนกีดขวาง หรือเกะกะผู้อื่น
2. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น และไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนนักกีฬา ในเวลาที่นักกีฬาต้องการสมาธิ
3. เมื่อนักกีฬาและผู้ตัดสินลงสู่สนาม ผู้ดูควรปรบมือเพื่อเป็นการให้เกียรติ
4. หากผู้เล่นเล่นได้ดี ควรปรบมือเพื่อเป็นการชมเชย และให้กำลังใจ
5. แม้ทีมที่ชนะจะไม่ใช่ทีมของตนเอง ผู้ดูที่ดีควรปรบมือเพื่อแสดงความยินดี
6. ควรปรบมือให้นักกีฬาที่ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
7. ควรปรบมือให้กับผู้ตัดสินด้วย เมื่อผู้ตัดสินทำการตัดสินได้ถูกต้อง
8. ปรบมือให้ผู้เล่น เมื่อผู้เล่นได้รับการประกาศชื่อ หรือได้รับรางวัล
9. ไม่แสดงกิริยาโวยวาย พูดจาหยาบคาย ก้าวร้าว 
10. ไม่โยนหรือขว้างปาสิ่งของลงไปในสนามแข่ง ใส่ผู้เล่น รวมถึงผู้ตัดสินในสนาม
11. ไม่ทะเลาะวิวาทกับผู้เล่น หรือผู้ชมคนอื่น
12. ไม่ทำตนเป็นผู้ตัดสิน หรือแทรกแซงการตัดสิน รวมทั้งการทำงานของเจ้าหน้าที่
13. หากไปเป็นหมู่คณะ ควรนั่งรวมกันในกลุ่มของตนเชียร์กีฬาด้วยถ้อยคำสุภาพ ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
14. ช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ กรณีเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่สงบเกิดขึ้น
15. ช่วยตักเตือน ห้ามปรามเมื่อหมู่คณะของตนเองกระทำผิด
16. แต่งกายอย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ
17. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดก่อนและขณะดูกีฬา





มารยาทที่ดีของผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล

การเล่นกีฬาทุกชนิดมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตให้เจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเล่นกีฬาจะช่วยให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ลดความตึงเครียด เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ กีฬาวอลเลย์บอลก็มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เล่นจะพบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้ ก็ควรจะต้องมีมารยาทในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี ดังต่อไปนี้
1. แต่งกายให้เหมาะสม และใส่เครื่องแบบชุดกีฬาของทีมตนให้ถูกต้อง เมื่อเข้าร่วมการแข่งขัน
2. เล่นและปฏิบัติตนตามกติกาอย่างเคร่งครัด
3. เล่นอย่างมีมารยาทต่อผู้เล่นทุกคนและทุกฝ่าย
4. ให้เกียรติต่อผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม
5. ให้เกียรติต่อผู้ชมตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
6. ไม่แสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ และพูดจาโต้เถียง ก้าวร้าวต่อผู้อื่น
7. ใจคอหนักแน่น อดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดโทสะได้
8. ผู้เล่นต้องยอมรับ และเคารพคำตัดสินของผู้ตัดสิน
9. ผู้เล่นต้องเชื่อฟัง เคารพคำสั่งของหัวหน้าทีม และผู้ฝึกสอน
10. ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดเต็มความสามารถของตน
11. เมื่อชนะก็ไม่ควรดีใจจนเกินไป และไม่ทับถม เยาะเย้ยฝ่ายที่แพ้
12. เมื่อแพ้ก็ไม่เสียใจจนเกินไป ค้นหาจุดด้อยของตนเอง และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น
13. รู้จักให้อภัย ไม่ติเตียนกล่าวโทษเพื่อนร่วมทีม และถึงแม้เพื่อนร่วมทีมจะทำผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ
14. ไม่สร้างความเดือดร้อน รำคาญใจให้กับผู้อื่น






หลักในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลด้วยความปลอดภัย


      1. ควรให้แพทย์ตรวจร่างกายเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเพราะอาจมีโรคบางอย่าง ที่แพทย์ตรวจพบแล้วไม่อนุญาต ให้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลก็ได้
      2. สังเกตดูพื้นสนามที่ใช้ในการเล่น ก่อนการเล่นวอลเลย์บอลทุกครั้งว่าสนามขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายหรือสิ่งแหลมคม อยู่บนพื้นสนามหรือไม่ พื้นสนามลื่นหรือไม่  ถ้าหากสภาพสนามไม่ดีย่อมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นได้ นอกจากนี้ควร ตรวจ ดูบริเวณรอบ ๆ สนาม รวมทั้งตาข่าย เสาขึงตาข่ายว่ามีความแข็งแรงมั่นคงเพียงใด มีสิ่งที่กีดขวางการเล่น หรือสิ่งที่ล่อแหลม บ้างหรือไม่ เพราะผู้เล่นอาจจะวิ่งไปชนจนได้รับอันตรายต่อผู้เล่นได้
      3. เมื่อรู้สึกไม่สบายขณะเล่น ควรหยุดเล่นทันที เช่น ภายหลังเพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ อดนอน หรือท้องเสียการออกกำลังกาย ที่เคย ทำอยู่อาจจะกลายเป็นหนักเกินไปได้ อาการที่ผู้เล่นรู้สึกเหนื่อยผิดธรรมดา ใจสั่นเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้หายใจขัดหรือ หายใจไม่ ทั่วท้อง ควรหยุดเล่นทันที
      4. ขณะที่ฝนตกหรือแดดร้อนจัด อย่าเล่นวอลเลย์บอลกลางแจ้ง เพราะนอกจากจะไม่เป็นการรักษาสุขภาพ และสวัสดิภาพของ ตนเองแล้ว ถ้าเล่นลูกบอลด้วยหนังจะทำให้ลูกบอลหมดสภาพการใช้งานเร็วขึ้นด้วย
      5. อบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ ก่อนการเล่นทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
      6. เครื่องแต่งกายในการเล่นต้องเป็นชุดที่เหมาะสม เพราะเครื่องแต่งกายมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการเคลื่อนไหว กีฬาแต่ละ อย่างย่อมมีรูปแบบ เครื่องแต่งกายทั้งเสื้อ กางเกงและรองเท้า ถ้าใส่เสื้อผ้าที่รุ่มร่าม ร้องเท้าที่ไม่สมกับเท้า ทำให้การเคลื่อนไหว ไม่คล่องตัวเท่าที่ควรและยังเป็นสาหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย ส่วนในด้านความอดทนต้องคำนึง ถึงการระบายความร้อน จากร่างกายเป็นสำคัญ เช่น กรณีที่สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด แน่นเกินไป หรือใช้เสื้อผ้าที่ซับเหงื่อได้น้อย จะทำให้การระบาย ความร้อน ออกจากร่างกายลำบากยิ่งขึ้น
      7. การฝึกหรือเล่นแต่ละครั้งไม่ควรหักโหมนานเกินไปเพราะสภาพร่างกายของแต่ละคน ไม่เหมื่อนกัน หากรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพัก สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยฝึกหรือเล่นใหม่ต่อไป
      8. หลังจากรับประทานอาหารใหม่ ๆ ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลทันทีเนื่องจากสภาพของกระเพาะอาหารในเวลาอิ่มจัด กระเพาะอาหารซึ่งอยู่ใต้กระบังลมจะเป็นตัวทำให้การขยายของปอดเป็นไปไม่ดีเท่าที่ควร คือกระบังลมไม่อาจหดตัวต่ำลงได้มาก นอกจากนี้ถ้ากระเพาะอาหารที่มีอาหารอยู่ได้รับความกระทบกระเทือนจะแตกได้ง่ายกว่ากระเพาะอาหารที่ว่าง ข้อควรคำนึง ควรงด อาหารหนักก่อนการฝึกซ้อมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
      9. จิตใจในระหว่างการเล่นหรือฝึกซ้อม ต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่งขจัดเรื่องที่รบกวนจิตใจในระหว่างนั้นออกไป หากขจัดไม่ได้ จริง ๆ ไม่ควรฝึกซ้อม เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาช่วยลด ความเครียดอยู่แล้ว ดังนั้นขณะเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายไม่ควรเครียด






ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล

2. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง

3. เพื่อให้มีควมสามารถในการเล่นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด

4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

5. เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์

6. เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

7. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา

8. เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

9. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล





การเก็บรักษาอุปกรณ์วอลเล่ย์บอล

อุปกรณ์การเล่นวอลเลย์บอลควรได้รับการดูแลและเก็บรักษาให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ นานที่สุด เพื่อความประหยัดและเป็นการปลูกฝังให้ผู้เล่นเกิดนิสัยรักความมีระเบียบ โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
๑. มีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะ และควรเก็บแยกประเภทให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการนำมาใช้
๒. อุปกรณ์ที่ชำรุด เช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่ายขาดให้รีบซ่อมแซมทันที การปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ เสียหาย มากขึ้น
๓. อย่าขึงตาข่ายไว้กลางแจ้งให้ถูกแดดฝนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ตาข่ายชำรุดเสียหาย ีอายุการใช้งาน ไม่นานเท่าที่ควร
๔. อย่าให้ลูกวอลเลย์บอลที่ทำด้วยหนังถูกน้ำนาน ๆ เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น
ควรใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทันทีก่อนที่จะนำลูกบอลมาเล่นต่อไป
๕. ทำความสะอาดลูกบอลทุกครั้งด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ด ก่อนที่จะนำไปเก็บ
๖. การสูบลมหรือปล่อยลมออกจากลูกบอลควรใช้เข็มที่ใช้กับลูกวอลเลย์บอลโดยเฉพาะ
ถ้าใช้ของแหลมชนิดอื่นจะทำให้ลูกวอลเลย์บอลชำรุดได้ง่าย
๗. หมั่นเช็ด กวาด ถู พื้นสนามเล่นให้สะอาดอยู่เสมอ

นักเรียนรวมถึงนักกีฬาวอลเลย์บอลจำเป็นต้องทำความรู้จักอุปกรณ์กีฬาของตนเอง ต้องรู้จักการเก็บ การบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์นั้น ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยาวนาน และคุ้มค่า
อุปกรณ์วอลเลย์บอลแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ อุปกรณ์ที่ใช้กันเป็นส่วนรวม และอุปกรณ์ส่วนตัว ส่วนวิธีการดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์วอลเลย์บอลอย่างถูกวิธีมีดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์ส่วนรวม ได้แก่ สนามวอลเลย์บอล ตาข่าย เสาตาข่าย ลูกบอล อุปกรณ์เหล่านี้ควรจัดเวร หรือจัดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบโดยเฉพาะ
1.1 หากสนามชำรุด(Volleyball court) มีข้อบกพร่องต้องแจ้งให้ผู้รับผิดชอบรีบ ปรับปรุงแก้ไข
1.2 ตาข่าย ( Net ) เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย อย่าปล่อยให้ตากแดด ตากฝนเป็นเวลานาน หากเปียกน้ำต้องตากให้แห้งก่อนเก็บหลังจากการเล่นจะต้องผ่อนตาข่ายที่ตึงให้หย่อนลง
1.3 เสาตาข่าย หากเป็นแบบถอดได้ต้องถอดเก็บเป็นที่เป็นทาง สะดวกต่อการประกอบใช้งานต่อไปลูกวอลเลย์บอล เก็บลูกวอลเลย์บอลไว้ในที่เก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หากเปียกน้ำต้องเช็ดให้แห้งก่อนเก็บ
ไม่ปล่อยให้ลูกวอลเลย์บอลตากแดดเป็นเวลานาน หากลูกวอลเลย์บอลสกปรกมาก ให้ทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆรีบเช็ดให้แห้ง แล้วนำไปเก็บในที่ให้เรียบร้อย
1.4 สมุดบันทึกการแข่งขัน แฟ้มงานต่าง ๆ หนังสือการกีฬา หนังสือกติกา และเอกสารต่าง ๆ ควรเก็บในที่เก็บให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการค้นหาและนำไปใช้
1.5 หมั่นเช็ด กวาด ถูพื้นสนาม สิ่งกีดขวางในสนาม เช่น ขยะ เศษไม้ เศษหิน ฯลฯ ต้องเก็บกวาดให้สะอาด เรียบร้อยอยู่เสมอ โดยเฉพาะระหว่างการใช้งาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
โดยอุปกรณ์ทุกชนิด ควรมีชั้นหรือตู้เก็บอุปกรณ์ไว้โดยเฉพาะ และควรเก็บแยกประเภทให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการนำมาใช้
2. อุปกรณ์ส่วนตัว ได้แก่ เครื่องแบบ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า
2.1 เครื่องแบบ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า ต้องซักให้สะอาด อยู่ในสภาพที่ใช้ได้เสมอ
2.2 เก็บให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย หาง่าย หยิบใช้ได้สะดวก
2.3 เก็บอุปกรณ์ไว้ในสถานที่ปลอดภัย2.4 การเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ควรซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม



ประโยชน์ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

 กีฬาวอลเลย์บอล เป็นกีฬาอย่างที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย และเป็นกีฬาที่สุภาพ ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่าย และเมื่อเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเป็นแล้วจะทำให้ผู้เล่นสามารถมีอายุในการเป็นนักกีฬาได้นานกว่ากีฬาอื่น ๆ คุ้มกับการที่ได้ฝึกฝนมาก เพราะกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่คนหนุ่มสาวและคนมีอายุแล้วสามารถเล่น ได้แม้แต่สตรีที่มีบุตรแล้วและมี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ส่งผลของการเล่นและการแข่งขันย่อมทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้คือ
1.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมความรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะ เพราะวอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม โดยมีผู้เล่นฝ่าหนึ่งอย่างน้อย ๖ คน 
2.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมทักษะในการใช้มือของผู้เล่นให้เกิดความชำนาญ มีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะกีฬาวอลเลย์บอลอาจนับได้ว่าเป็นกีฬาชนิดเดียวที่ต้องใช้ความชำนาญของมือทุกส่วนตั้งแต่นิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ แขน ในการเล่นลุก
3. การเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆได้ จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น
4.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับคนทุกยุคทุกวัย สถานที่ที่ใช้เล่นสามารถดัดเแปลงให้เหมาะสม กับเพสและวัยได้ กติกาการเล่นก็เข้าใจง่าย
5. การเล่นวอลเลย์บอลจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น เพราะผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายกั้นกลางสนาม จึงทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้เลย
6.กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาอื่นๆ ทีใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคย และมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ทังระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดียิ่ง






มารยาทของผู้เล่นและผู้ชมกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี

มารยาทของผู้เล่นวอลเลย์บอลที่ดี
1. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้องแต่งกายตามกติกา แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกกำลังกาย ควรจะแต่งกายให้เหมาะสม บางคนสวมรองเท้าแตะหรือชุดที่ไปเที่ยวลงเล่น เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการเล่นได้
2. ไม่แสดงกิริยาเสียดสี ล้อเลียนหรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกันหรือฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ชม
3. ในระหว่างการแข่งขัน ไม่จงใจฟังคำสอนจากผู้หนึ่งผู้ใดนอกสนาม
4. มีความสุภาพเรียบร้อยแสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ก่อนและหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ควรจับมือผู้เล่นของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีมจะแพ้หรือชนะก็ตาม
5. ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสม แก่ผู้ตัดสินในการตัดสินและปฏิบัติตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด
6. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง ถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ
มารยาทของผู้ชมวอลเลย์บอลที่ดี

1. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือ ให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี และไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
2. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
3. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น
4. ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก