วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คลิปการแข่งขันวอลเล่ย์บอล


วอลเล่ย์บอลหญิง ระหว่าง ไทย VS จีน


การสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล


การเล่นกีฬาทุกชนิด ก่อนการฝึกทักษะผู้เล่นจะต้องได้รู้จักหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ หรือวัสดุฝึกของกีฬาชนิดนั้นก่อน กีฬาวอลเลย์บอลก่อนการฝึกก็จะมีกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล ซึ่งมีผู้กล่าวถึงการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลไว้ ดังนี้
การกีฬาแห่งประเทศไทย (2538 : 21) กล่าวไว้ว่า ผู้เล่นควรจะคุ้นเคยกับ
ลูกวอลเลย์บอลเพื่อฝึกประสาทและร่างกายส่วนที่จะใช้สัมผัสกับลูกบอลให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกบอลอยู่ในลักษณะอย่างไรก็สามารถเคลื่อนที่ไปเล่นลูกบอลได้และสามารถใช้มือบังคับลูกบอลนั้นให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ และคณะ (2546 : 80) กล่าวไว้ว่า การฝึกความคุ้นเคยกับลูกบอลนั้น เป็นการฝึกประสาทตา และร่างกายส่วนที่ใช้สัมผัสกับลูกบอล จังหวะระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทางการเล่น กลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นของลูกบอล
กรมพลศึกษา (2544:30) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล เป็นการปูพื้นฐานให้ร่างกายมีความพร้อม รู้จักจังหวะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้า รับลูกบอล จุดตกของลูกบอล การคุ้นเคยกับน้ำหนักของลูกบอล การโยน ขว้าง รับ ส่ง เล่นลูกสองมือล่าง การเซตลูก สามารถกะระยะของลูกบอลได้ ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอล เพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อสายตา ความคล่องตัวในการเคลื่อนที่
ปัญจะ จิตรโสภี (2526 : 30-31) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับ ลูกวอลเลย์บอล เป็นการฝึกหัดให้เกิดความคุ้นเคยและเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกหัดทักษะพื้นฐานต่อไปความมุ่งหวังให้เกิดความคุ้นเคยความสัมพันธ์ของกลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นตัวของลูกบอล ความสัมพันธ์ของประสาท สายตา และกล้ามเนื้อของร่างกายที่ใช้สัมผัสเล่นลูกบอล จังหวะ ระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทาง การเล่น การเคลื่อนที่ไปยังจุดที่ลูกบอลจะตก ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอลเพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้

สรุป
การสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลเป็นทักษะเบื้องต้นที่สำคัญทำให้ผู้เล่นมีความพร้อมที่จะเล่น เป็นการฝึกความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อประสาท และสายตา กลไกการเคลื่อนไหว ปฏิกิริยาการตอบสนอง การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก ความหยุ่นตัวของลูกบอล รู้จักจังหวะระยะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้าเล่นลูกบอล จุดตกของลูกบอล การเคลื่อนที่เข้าไปเล่นลูกบอล การสัมผัสกับลูกบอล ระยะการออกแรงกระทบลูกบอลหรือการส่งลูกบอลไปยังทิศทางต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

การสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอลคนเดียว

1. หมุนลูกบอลรอบขาเป็นรูปเลข 8



                          
                                       


2. กระโดดส่งลูกบอลใส่มือ

                                    

                                        



3. กลิ้งลูกบอลเหยียดขาตึง

                                   

                                  


4. เข่าหนีบลูกบอลกระโดด

                                                 

                         

5. ก้มตัวส่งลูกบอลลอดขา

                               





การตบลูกบอล

1. ความหมายของการตบลูกบอล
2. ความสำคัญของการตบลูกบอล
3. หลักสำคัญของการตบลูกบอล
3.1 ท่าเตรียม
3.2 การวิ่ง
3.3 การกระโดด
3.4 การเหวี่ยงแขน
3.5 การลงสู่พื้น
4. ปัญหาการตบลูกบอลและวิธีแก้ไข
5. กติกาการรุก
การตบลูกบอล (Spiking)
1. ความหมายของการตบลูกบอล (Spiking)
การตบลูกวอลเลย์บอล มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ ดังนี้
ศรีเกษม อุ่นประดิษฐ์ และคณะ (2532 : 64) ได้กล่าวถึง การตบลูกบอล หมายถึง การที่ผู้เล่นกระโดดให้สูงที่สุดบริเวณเหนือตาข่าย แล้วตบหรือตีลูกบอลอย่างแรง เพื่อให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายตรงข้าม
กรมพลศึกษา (2535 : 65) ได้กล่าวการตบลูกบอล หมายถึง วิธีการรุกที่รุนแรง และมีประสิทธิภาพสูงอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการตบจะเป็นการใช้ฝ่ามือตบลูกบอลในลักษณะของการ แบมือ
นัยนา บุพพวงษ์ (2540 : 153) ได้กล่าวถึงการตบลูกบอล หมายถึง การรุกที่รุนแรง กระทำได้ทั้งผู้เล่นที่อยู่แดนหน้าและแดนหลัง โดยจะกระโดดหรือไม่กระโดดก็ได้ ใช้ฝ่ามือตี ลูกบอลให้ข้ามตาข่าย หรือเหนือผู้สกัดกั้นพยายามให้ไปลงฝ่ายตรงข้าม และยิ่งถ้าผู้เล่นวิ่งและกระโดดตีลูกบอลด้วยแล้วจะทำให้การตบลูกบอลรุนแรง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น


สรุป 
การตบนับเป็นทักษะการรุกที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับกีฬาวอลเลย์บอล เพราะการตบเป็นการรุกที่มีความรุนแรง และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม การตบนับเป็นสีสันของการสร้างเกมรุก ทำให้การแข่งขันมีความสนุกสนานตื่นเต้นน่าสนใจ ปัจจุบันยุทธวิธีการตบมีหลากหลายรูปแบบที่จะใช้โจมตีหรือหลอกล่อการสกัดกั้นฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ทีมได้เปรียบ หรือได้คะแนนจากการตบ ทีมใดมีตัวตบที่ดีมีประสิทธิภาพ มักจะได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน
2. ความสำคัญของการตบลูกบอล
ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมีองค์ประกอบหลายอย่างทำให้ทีมประสบผล สำเร็จในการแข่งขัน การตบนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้ทีมได้รับชัยชนะ เพราะการตบเป็นการรุกที่รุนแรง และสามารถทำคะแนนได้เป็นอย่างดี
กรพลศึกษา (2532 : 28) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการตบลูกบอลไว้ว่า การตบเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง ความตื่นเต้นและความสนุกสนานของการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลอยู่ที่การตบลูกบอล และการแพ้ –ชนะ ย่อมอาศัยการตบเป็นหลักสำคัญ
อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 33) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการตบลูกบอลไว้ว่า
การตบเป็นวิธีการรุกที่ดีที่สุดของฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอล ลูกตบที่มีพลังและมีจุดมุ่งหมายตามยุทธวิธี จะสามารถทำให้ฝ่ายตรงข้ามยากแก่การตั้งรับ และตอบโต้ จึงทำให้ฝ่ายเราได้คะแนนหรือได้เสิร์ฟอย่างง่าย ๆ


สรุป
การตบลูกบอลถือว่าเป็นการรุกที่ดี ทีมที่มีตัวตบที่ดีมีความหนักหน่วงรุนแรงและ มีประสิทธิภาพ จะสามารถทำให้ทีมชนะหรือประสบผลสำเร็จในการแข่งขันได้ง่ายขึ้น
3. หลักสำคัญของการตบลูกบอล
อุทัย สงวนพงศ์ (2533 : 44-48) ได้กล่าวถึงหลักสำคัญของการตบ ดังนี้
การตบลูกบอลเป็นวิธีการรุกที่รุนแรงของฝ่ายที่ครอบครองลูกบอล ลูกตบที่ประสบผลสำเร็จต้องมาจากลูกจังหวะแรก และจังหวะที่สองที่สัมพันธ์กัน อานุภาพของลูกตบยังขึ้นอยู่กับความแรงของลูก รวมทั้งความเร็วความคล่องตัวและท่าทางที่ใช้ตบลูกของผู้เล่น การตบลูกบอลจึงมีเทคนิคและวิธีการค่อนข้างสลับซับซ้อนหลายขั้นตอนที่ผสมผสานต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปจะมีหลักการที่ สำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
3.1 ท่าเตรียม
ท่าทางการเตรียมพร้อมที่จะตบลูกบอล โดยยืนแยกเท้าทั้งสองออกตามธรรมชาติงอเข่าทั้งสองเล็กน้อย โล้ตัวไปข้างหน้าพอสมควร ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลาเตรียมพร้อมที่จะวิ่งไปยังทิศทางต่าง ๆ

การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอล

  ตามปกติฝ่ายรับมักจะพบปัญหาการรับลูกที่ฝ่ายรุกตบลูกลงในเขตสนามที่เป็นช่องว่าง     ลูกบอลที่ข้ามตาข่ายจะพุ่งมาแรงและรวดเร็ว  ซึ่งกว่าผู้เล่นจะเคลื่อนตัวไปถึงลูกบอลก็มักจะตกลงต่ำจนเกือบถึงพื้นแล้ว  การเข้ารับลูกบอลที่ต่ำและห่างตัวผู้เล่นจึงมักจะใช้การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลการพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลทำได้   2  ลักษณะ คือ
1.  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลสองมือ   ใช้ในโอกาสที่ลูกมาต่ำและไม่ไกลตัวผู้รับมากนัก  การพุ่งตัวไปรับจึงไม่ต้องม้วนตัวตาม  ส่วนมากปล่อยให้หน้าอกไถลไปกับพื้น   หลักการพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลสองมือ  โดยผู้เล่นยืนในลักษณะท่าเตรียมพร้อม  โล้ตัวไปตามทิศทางที่ลูกบอลมาพร้อมกับเหวี่ยงแขนไปข้างหลัง  แล้วถีบเท้าพุ่งตัวไปหาลูกบอล พร้อมกับเหวี่ยงแขนมาข้างหน้า  แขนทั้งสองเหยียดตรง  มือทั้งสองจับกันเพื่อรับลูกบอล 


         
   ที่มา :  http://www. fivb.org/Photos/VB/Gallery/WorldLeague2004/Match010/Screen/0..
                                  สืบค้นเมื่อวันที่  8   มีนาคม  2548


2.  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลมือเดียว  ใช้ในโอกาสที่ลูกมาต่ำและไกลตัวผู้รับมาก  ซึ่งถ้าใช้วิธีพุ่งตัวรับด้วยสองมือก็คงไม่ถึงลูกบอล  การพุ่งตัวเข้ารับลูกด้วยมือเดียว  ประสิทธิภาพการรับจะไม่แน่นอนหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญเพียงพอ  แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเสียไปโดยไม่พยายามรับลูกเลย  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลมือเดียวมีหลักการเช่นเดียวกับการพุ่งตัวเข้ารับลูกด้วยสองมือ


     
   ที่มา :  http://www. fivb.org/Photos/VB/Gallery/WorldLeague2004/Match010/Screen/0..
                                  สืบค้นเมื่อวันที่  8   มีนาคม  2548

การเคลื่อนที่เพื่อเล่นลูกบอล


                              2.1   ลักษณะการเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่เพื่อเล่นลูกบอลเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของผู้เล่นที่จะเคลื่อนที่ไป
รับลูกบอลหรือแม้กระทั่งในการตบลูกบอล  คนส่วนมากคิดว่าผู้เล่นที่วิ่งเร็วจะเคลื่อนที่ได้เร็ว แต่ความจริงแล้วการเล่นวอลเลย์บอลคนที่วิ่งเร็วอาจจะเคลื่อนที่ได้ช้าก็ได้  เพราะขณะที่เล่นบางครั้ง 
ลูกบอลพุ่งมาเร็วบางครั้งก็ช้า จุดที่ลูกบอลตกก็ไม่แน่นอน การเคลื่อนที่ไปรับลูกบอล บางครั้งก็วิ่งไปข้างหน้า บางครั้งก็ถอยหลัง บางครั้งก็ไปทางข้าง ๆ ตัว
ลักษณะการเคลื่อนที่เพื่อเล่นลูกบอล  มีดังนี้
การเคลื่อนที่ไปด้านหน้า  ประกอบด้วยการก้าวเท้า  การวิ่ง  การพุ่งตัว  การสไลด์ตัวไปกับพื้น
การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง  ประกอบด้วยการก้าวเท้าไปด้านข้าง  การก้าวไขว้เท้า การสไลด์เท้า  การพุ่งตัวไปด้านข้างเข้าหาลูกบอลและการม้วนตัว
การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง  ประกอบด้วยการก้าวถอยหลัง  การสไลด์เท้า  การหมุนตัว กลับแล้วพุ่งเข้าหาลูก
                  2.2    สิ่งสำคัญในการเคลื่อนที่   
สิ่งสำคัญที่มีผลต่อความเร็วในการเคลื่อนที่มีดังนี้
(1)  ความเร็วในการตัดสินใจ
(2)  ความสามารถในการถ่ายน้ำหนักตัว
(3)  ความถี่ของการก้าวเท้า
(4)  ความแข็งแรงของข้อเท้าและข้อเข่า
(5)  ความชำนาญในการฝึกซ้อม
                  2.2.1   ความเร็วในการตัดสินใจ
ความเร็วในการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการเคลื่อนที่ เพราะเป็นความสามารถของโสตประสาท  ผู้เล่นบางคนสามารถเคลื่อนที่รับลูกตบจากฝ่ายตรงกันข้ามได้ทันที     บางคนลูกตกทางหนึ่งแต่กลับวิ่งไปอีกทางหนึ่ง จึงควรฝึกมาก ๆ และควรฝึกในตอนต้นชั่วโมงของการฝึก
                  2.2.2  ความสามารถในการถ่ายน้ำหนักตัว
การถ่ายน้ำหนักตัวได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับท่ายืนเตรียมพร้อมที่ดีด้วย การยืนขยับเท้าตลอดเวลาจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าการยืนด้วยเท้านิ่ง ๆ ก่อนที่จะถ่ายน้ำหนักตัวไปยังทิศทางใด
ทิศทางหนึ่งจะต้องยืนให้น้ำหนักตัวตกอยู่ตรงกลางระหว่างเท้าทั้งสองตลอดเวลา  ความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายน้ำหนักตัวซึ่งมี  2  ลักษณะคือ
(1)    การถ่ายน้ำหนักตัวไปในทิศทางตรงข้าม
การถ่ายน้ำหนักตัวไปในทิศทางตรงข้าม เริ่มต้นด้วยท่ายืนเตรียมพร้อม น้ำหนักตัว      อยู่กลางระหว่างเท้าทั้งสองตลอดเวลาถ้าจะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมือให้ถ่ายน้ำหนักตัวมาทางขวาก่อน  โดยให้น้ำหนักตัวทั้งหมดตกอยู่ที่เท้าขวา  จะได้มีแรงถีบตัวที่จะเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แล้วจึงก้าวเท้าซ้ายนำออกไป
(2)   ไม่มีการถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
การเคลื่อนที่โดยไม่มีการถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นลักษณะการเคลื่อนที่อีกแบบหนึ่ง  ถ้าจะเคลื่อนที่ไปทางไหนก็ให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้านั้นแล้วก้าวอีกเท้าหนึ่งไป เช่น        จะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมือ ก็ให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าซ้ายทั้งหมด แล้วก้าวเท้าขวานำออกไป
                  2.2.3   ความถี่ของการก้าวเท้า
การก้าวเท้าที่มีความถี่สูงย่อมเคลื่อนที่ได้เร็ว  จึงจำเป็นต้องฝึกมาก ๆ เช่น  การวิ่งสลับเท้าเร็ว ๆ อยู่กับที่  หรือการวิ่ง  การสไลด์เท้า  การไขว้เท้าระยะทางใกล้ ๆ แต่ต้องเคลื่อนที่เร็ว ๆ  ซึ่งก้าวแรกของเท้าต้องก้าวสั้น ๆ เพราะถ้าก้าวแรกยาวจะให้น้ำหนักตัวมาข้างหลังจึงเคลื่อนที่ได้ช้า  แต่ถ้าก้าวแรกสั้นการถ่ายน้ำหนักตัวจะไปข้างหน้า จึงทำให้การเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า
                  2.2.4   ความแข็งแรงของข้อเท้าและข้อเข่า
ความแข็งแรงของข้อเท้าและข้อเข่าขึ้นอยู่กับแรงถีบ  ถ้าขาหลังมีแรงถีบมากจะเคลื่อนที่ได้เร็ว  จึงควรฝึกโดยการวิ่งยกเข่าสูงและก้าวยาว ๆ
2.2.5  ความชำนาญในการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมมาก ๆ ในการก้าวเท้าจนเกิดความชำนาญทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว การฝึกก้าวเท้าต้องฝึกหลาย ๆ แบบ เช่น  การวิ่ง  การไขว้เท้า  การสไลด์  การวิ่งโหย่ง ๆ และการก้าวยาว ๆ ถีบตัวให้ไปไกล ๆ เป็นต้น





จุดที่สัมผัสลูกบอล


๑ ก

๑ ข

๑ ค
บริเวณที่ถูกลูกบอลคือ บริเวณท่อนแขนด้านหน้า ทั้งสองแขนพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้น
มาประมาณ ๑๐ ซม. ดังรูปที่ ๑ ก - ๑ ข - ๑ ค




 ก

 ข

 ค
บริเวณที่ถูกลูกบอลคือ บริเวณท่อนแขนด้านหน้า ทั้งสองแขนพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้น
มาประมาณ ๑๐ ซม. ดังรูปที่ ๒ ก -  ข -  ค
๓. การออกแรงเล่นลูกด้วยมือล่าง
ในกรณีที่ลูกบอลที่พุ่งมาไม่แรง การอันเดอร์ลูกต้องเพิ่มแรงยกของแขนขึ้น เพื่อให้เกิดแรงกระทบลูก
และเมื่อลูกบอลพุ่งมาแรงมากให้ออกแรงส่งเพียงเล็กน้อยโดยอาศัยแรงกระดอนจากลูกช่วยในการส่ง
ลูกบอลการที่จะใช้แรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะทางความเร็ว ความแรงของลูกบอลด้วย
ดังรูปที่ ๓.๑ – ๓.๓
                                              
                                               
รูปที่ ๓.๑
รูปที่ ๓.๒
รูปที่ ๓.๓



๑.๑ ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน
      ประมาณ ๑ ช่วงไหล่

๑.๒ ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อย
      ก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า

๑.๓ ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้า
      ทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า

๑.๔ จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง
      ตามองที่ลูกบอล




วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีการเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง

๑. การจับมือเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง
การเล่นลูกบอลด้วยมือล่างต้องคำนึงถึงการจับมือ หรือการให้นิ้วหัวแม่มือชิดกัน มือทั้งสองต้อง
สัมผัสกันแนบแน่น เพื่อให้แขนทั้งสองเสมอกัน ทำให้การควบคุมลูกบอลเป็นไปตามทิศทาง
ที่ต้องการได้ง่าย วิธีที่จะทำให้มือทั้งสองข้างแนบชิดกันมี ๓ ลักษณะ ดังนี้
                                                                 ๑.๑ โดยวิธีซ้อนมือ
                                        เป็นวิธีที่นิยมเล่นกันมาก มีวิธีการจับมือ ดังรูปที่ ๑.๑ ก – ๑.๑ ค                                              
                                                                                   


๑. หงายมือทั้งสองข้าง
๒. เอามือหนึ่งไปวางซ้อนทับ
อีกมือหนึ่ง
๓. รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือ
ชิดติดกัน
รูปที่ ๑.๓ ก
รูปที่ ๑.๓ ข
รูปที่ ๑.๓ ค




                                                 
                                                   ๑.๒ โดยวิธีโอบหมัด   
                                              
มีวิธีการจับมือ ดังรูปที่ ๑.๒ ก – ๑.๒ ข

                                          


๑. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด
๒. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด
นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน
รูปที่ ๑.๒ ก
รูปที่ ๑.๒ ข




๑.๓ โดยวิธีกำมือทั้งสองข้างชิดกัน
มีวิธีการจับมือดังรูปที่ ๑.๓ ก – ๑.๓ ข
                    


๑.กำมือทั้งสองข้าง
๒.นำมือทั้งสองข้างมาชิดกันให้
นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน
รูปที่ ๑.๓ ก
รูปที่ ๑.๓ ข