วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล


การเล่นกีฬาทุกชนิด ก่อนการฝึกทักษะผู้เล่นจะต้องได้รู้จักหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ หรือวัสดุฝึกของกีฬาชนิดนั้นก่อน กีฬาวอลเลย์บอลก่อนการฝึกก็จะมีกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล ซึ่งมีผู้กล่าวถึงการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลไว้ ดังนี้
การกีฬาแห่งประเทศไทย (2538 : 21) กล่าวไว้ว่า ผู้เล่นควรจะคุ้นเคยกับ
ลูกวอลเลย์บอลเพื่อฝึกประสาทและร่างกายส่วนที่จะใช้สัมผัสกับลูกบอลให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกบอลอยู่ในลักษณะอย่างไรก็สามารถเคลื่อนที่ไปเล่นลูกบอลได้และสามารถใช้มือบังคับลูกบอลนั้นให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ และคณะ (2546 : 80) กล่าวไว้ว่า การฝึกความคุ้นเคยกับลูกบอลนั้น เป็นการฝึกประสาทตา และร่างกายส่วนที่ใช้สัมผัสกับลูกบอล จังหวะระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทางการเล่น กลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นของลูกบอล
กรมพลศึกษา (2544:30) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล เป็นการปูพื้นฐานให้ร่างกายมีความพร้อม รู้จักจังหวะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้า รับลูกบอล จุดตกของลูกบอล การคุ้นเคยกับน้ำหนักของลูกบอล การโยน ขว้าง รับ ส่ง เล่นลูกสองมือล่าง การเซตลูก สามารถกะระยะของลูกบอลได้ ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอล เพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อสายตา ความคล่องตัวในการเคลื่อนที่
ปัญจะ จิตรโสภี (2526 : 30-31) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับ ลูกวอลเลย์บอล เป็นการฝึกหัดให้เกิดความคุ้นเคยและเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกหัดทักษะพื้นฐานต่อไปความมุ่งหวังให้เกิดความคุ้นเคยความสัมพันธ์ของกลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นตัวของลูกบอล ความสัมพันธ์ของประสาท สายตา และกล้ามเนื้อของร่างกายที่ใช้สัมผัสเล่นลูกบอล จังหวะ ระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทาง การเล่น การเคลื่อนที่ไปยังจุดที่ลูกบอลจะตก ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอลเพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้

สรุป
การสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลเป็นทักษะเบื้องต้นที่สำคัญทำให้ผู้เล่นมีความพร้อมที่จะเล่น เป็นการฝึกความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อประสาท และสายตา กลไกการเคลื่อนไหว ปฏิกิริยาการตอบสนอง การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก ความหยุ่นตัวของลูกบอล รู้จักจังหวะระยะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้าเล่นลูกบอล จุดตกของลูกบอล การเคลื่อนที่เข้าไปเล่นลูกบอล การสัมผัสกับลูกบอล ระยะการออกแรงกระทบลูกบอลหรือการส่งลูกบอลไปยังทิศทางต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

การสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอลคนเดียว

1. หมุนลูกบอลรอบขาเป็นรูปเลข 8



                          
                                       


2. กระโดดส่งลูกบอลใส่มือ

                                    

                                        



3. กลิ้งลูกบอลเหยียดขาตึง

                                   

                                  


4. เข่าหนีบลูกบอลกระโดด

                                                 

                         

5. ก้มตัวส่งลูกบอลลอดขา

                               





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น