วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอล

  ตามปกติฝ่ายรับมักจะพบปัญหาการรับลูกที่ฝ่ายรุกตบลูกลงในเขตสนามที่เป็นช่องว่าง     ลูกบอลที่ข้ามตาข่ายจะพุ่งมาแรงและรวดเร็ว  ซึ่งกว่าผู้เล่นจะเคลื่อนตัวไปถึงลูกบอลก็มักจะตกลงต่ำจนเกือบถึงพื้นแล้ว  การเข้ารับลูกบอลที่ต่ำและห่างตัวผู้เล่นจึงมักจะใช้การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลการพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลทำได้   2  ลักษณะ คือ
1.  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลสองมือ   ใช้ในโอกาสที่ลูกมาต่ำและไม่ไกลตัวผู้รับมากนัก  การพุ่งตัวไปรับจึงไม่ต้องม้วนตัวตาม  ส่วนมากปล่อยให้หน้าอกไถลไปกับพื้น   หลักการพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลสองมือ  โดยผู้เล่นยืนในลักษณะท่าเตรียมพร้อม  โล้ตัวไปตามทิศทางที่ลูกบอลมาพร้อมกับเหวี่ยงแขนไปข้างหลัง  แล้วถีบเท้าพุ่งตัวไปหาลูกบอล พร้อมกับเหวี่ยงแขนมาข้างหน้า  แขนทั้งสองเหยียดตรง  มือทั้งสองจับกันเพื่อรับลูกบอล 


         
   ที่มา :  http://www. fivb.org/Photos/VB/Gallery/WorldLeague2004/Match010/Screen/0..
                                  สืบค้นเมื่อวันที่  8   มีนาคม  2548


2.  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลมือเดียว  ใช้ในโอกาสที่ลูกมาต่ำและไกลตัวผู้รับมาก  ซึ่งถ้าใช้วิธีพุ่งตัวรับด้วยสองมือก็คงไม่ถึงลูกบอล  การพุ่งตัวเข้ารับลูกด้วยมือเดียว  ประสิทธิภาพการรับจะไม่แน่นอนหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญเพียงพอ  แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเสียไปโดยไม่พยายามรับลูกเลย  การพุ่งตัวเข้ารับลูกบอลมือเดียวมีหลักการเช่นเดียวกับการพุ่งตัวเข้ารับลูกด้วยสองมือ


     
   ที่มา :  http://www. fivb.org/Photos/VB/Gallery/WorldLeague2004/Match010/Screen/0..
                                  สืบค้นเมื่อวันที่  8   มีนาคม  2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น