วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลักในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลด้วยความปลอดภัย


      1. ควรให้แพทย์ตรวจร่างกายเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเพราะอาจมีโรคบางอย่าง ที่แพทย์ตรวจพบแล้วไม่อนุญาต ให้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลก็ได้
      2. สังเกตดูพื้นสนามที่ใช้ในการเล่น ก่อนการเล่นวอลเลย์บอลทุกครั้งว่าสนามขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ มีทรายหรือสิ่งแหลมคม อยู่บนพื้นสนามหรือไม่ พื้นสนามลื่นหรือไม่  ถ้าหากสภาพสนามไม่ดีย่อมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นได้ นอกจากนี้ควร ตรวจ ดูบริเวณรอบ ๆ สนาม รวมทั้งตาข่าย เสาขึงตาข่ายว่ามีความแข็งแรงมั่นคงเพียงใด มีสิ่งที่กีดขวางการเล่น หรือสิ่งที่ล่อแหลม บ้างหรือไม่ เพราะผู้เล่นอาจจะวิ่งไปชนจนได้รับอันตรายต่อผู้เล่นได้
      3. เมื่อรู้สึกไม่สบายขณะเล่น ควรหยุดเล่นทันที เช่น ภายหลังเพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ อดนอน หรือท้องเสียการออกกำลังกาย ที่เคย ทำอยู่อาจจะกลายเป็นหนักเกินไปได้ อาการที่ผู้เล่นรู้สึกเหนื่อยผิดธรรมดา ใจสั่นเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้หายใจขัดหรือ หายใจไม่ ทั่วท้อง ควรหยุดเล่นทันที
      4. ขณะที่ฝนตกหรือแดดร้อนจัด อย่าเล่นวอลเลย์บอลกลางแจ้ง เพราะนอกจากจะไม่เป็นการรักษาสุขภาพ และสวัสดิภาพของ ตนเองแล้ว ถ้าเล่นลูกบอลด้วยหนังจะทำให้ลูกบอลหมดสภาพการใช้งานเร็วขึ้นด้วย
      5. อบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ ก่อนการเล่นทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
      6. เครื่องแต่งกายในการเล่นต้องเป็นชุดที่เหมาะสม เพราะเครื่องแต่งกายมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการเคลื่อนไหว กีฬาแต่ละ อย่างย่อมมีรูปแบบ เครื่องแต่งกายทั้งเสื้อ กางเกงและรองเท้า ถ้าใส่เสื้อผ้าที่รุ่มร่าม ร้องเท้าที่ไม่สมกับเท้า ทำให้การเคลื่อนไหว ไม่คล่องตัวเท่าที่ควรและยังเป็นสาหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย ส่วนในด้านความอดทนต้องคำนึง ถึงการระบายความร้อน จากร่างกายเป็นสำคัญ เช่น กรณีที่สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด แน่นเกินไป หรือใช้เสื้อผ้าที่ซับเหงื่อได้น้อย จะทำให้การระบาย ความร้อน ออกจากร่างกายลำบากยิ่งขึ้น
      7. การฝึกหรือเล่นแต่ละครั้งไม่ควรหักโหมนานเกินไปเพราะสภาพร่างกายของแต่ละคน ไม่เหมื่อนกัน หากรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพัก สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยฝึกหรือเล่นใหม่ต่อไป
      8. หลังจากรับประทานอาหารใหม่ ๆ ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลทันทีเนื่องจากสภาพของกระเพาะอาหารในเวลาอิ่มจัด กระเพาะอาหารซึ่งอยู่ใต้กระบังลมจะเป็นตัวทำให้การขยายของปอดเป็นไปไม่ดีเท่าที่ควร คือกระบังลมไม่อาจหดตัวต่ำลงได้มาก นอกจากนี้ถ้ากระเพาะอาหารที่มีอาหารอยู่ได้รับความกระทบกระเทือนจะแตกได้ง่ายกว่ากระเพาะอาหารที่ว่าง ข้อควรคำนึง ควรงด อาหารหนักก่อนการฝึกซ้อมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
      9. จิตใจในระหว่างการเล่นหรือฝึกซ้อม ต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่งขจัดเรื่องที่รบกวนจิตใจในระหว่างนั้นออกไป หากขจัดไม่ได้ จริง ๆ ไม่ควรฝึกซ้อม เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาช่วยลด ความเครียดอยู่แล้ว ดังนั้นขณะเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายไม่ควรเครียด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น